เกี่ยวกับเอ็ทน่า อินเตอร์เนชั่นแนล
เอ็ทน่า อินเตอร์เนชั่นแนล มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างสุขภาพประชาคมโลกให้แข็งแรงและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ด้วยการมอบสิทธิประโยชน์จากโซลูชั่นด้านการดูแลสุขภาพและผลประโยชน์ที่ครอบคลุมให้แก่ประชากรทั่วโลก ในฐานะหนึ่งในบริษัทที่ให้บริการประกันสุขภาพส่วนบุคคลระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุด เอ็ทน่า อินเตอร์เนชั่นแนลให้บริการสมาชิกทั่วโลกกว่า 800,000 คน ทั้งชาวต่างชาติ นักท่องเที่ยวท้องถิ่น และนักเดินทางเพื่อธุรกิจ ด้วยผลประโยชน์ครอบคลุมทั่วโลก รวมถึง การรักษาพยาบาล ทันตกรรม จักษุ การช่วยเหลือฉุกเฉิน และในบางภูมิภาคมีความครอบคลุมต่อชีวิตและทุพพลภาพด้วย
นอกจากนี้ เอ็ทน่า อินเตอร์เนชั่นแนล ยังนำเสนอโซลูชั่นเทคโนโลยีและการจัดการสุขภาพที่ปรับให้สอดคล้องกับระบบการดูแลสุขภาพ สิทธิประโยชน์ของภาครัฐ และบริษัทขนาดใหญ่ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น โดยปรับปรุงคุณภาพในการรักษาและควบคุมต้นทุน เอ็ทน่า อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นบริษัทในเครือเอ็ทน่า ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทของ ซีวีเอส เฮลธ์ ให้บริการด้านข้อมูลและทรัพยากรแก่ประชากรราว 34 ล้านคน เพื่อใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
www.aetnainternational.com or
LinkedIn
เกี่ยวกับเอ็ทน่า
เอ็ทน่า, บริษัทในเครือซีวีเอส, เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำระดับประเทศที่มีผลประโยชน์ด้านสุขภาพหลากหลาย และยังให้บริการด้านข้อมูลและทรัพยากรแก่ประชากรราว 40.3 ล้านคนเพื่อใช้ในการตัดสินใจเเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น
เอ็ทน่านำเสนอแผนประกันสุขภาพแบบดั้งเดิมที่มีความหลากหลาย แบบสมัครใจ โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้บริโภคและการบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในด้านต่างๆ รวมถึง ด้านการรักษาโรค เภสัชกรรม ทันตกรรม แผนพฤติกรรมสุขภาพ การจัดการด้านการแพทย์ การจัดการดูแลสุขภาพทางการแพทย์ การบริหารค่าชดเชยแรงงาน ผลิตภัณฑ์และบริการเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพ
ลูกค้าของเอ็ทน่า ได้แก่ กลุ่มบริษัท บุคคลรายเดี่ยว นักศึกษามหาวิทยาลัย ลูกจ้างชั่วคราว ผู้ให้บริการแผนสุขภาพ ผู้ให้บริการสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐ กลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล กลุ่มแรงงานและชาวต่างชาติ ในปี 2563 ซีวีเอสเฮลธ์ ได้รับการจัดอันดับเป็นลำดับที่ 5 ของ Fortune 100 ผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.aetnainternational.com หรือ
LinkedIn และติดตามได้ที่ twitter @AetnaNews เพื่อศึกษาวิธีการที่เอ็ทน่าช่วยทำให้โลกนี้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
นักลงทุนสัมพันธ์
1. ประวัติของบริษัท นโยบาย วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ
1.1 ประวัติของบริษัท
ข้อมูลเกี่ยวกับ เอ็ทน่า ประเทศไทย
เอ็ทน่าในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2560 มีสมาชิกกว่า 282,000 คน และกว่า 2,000 องค์กร ตลอดจนโรงพยาบาลในเครือข่ายรวมกว่า 490 แห่ง ท่านสามารถเรียกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.aetna.co.th
พันธกิจ
เรายกระดับบริการด้านสุขภาพทั่วโลกด้วยการสร้างทางเลือกที่จะช่วยให้ผู้คนได้มีโอกาสได้เข้าถึงและใช้ระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ราคาเหมาะสม
ค่านิยมของเอ็ทน่า

- ความซื่อสัตย์ - เราทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยเหตุผลอันเหมาะสม
- ความเป็นเลิศ - เราทุ่มเทนำเสนอคุณภาพและคุณค่าที่สูงที่สุดเท่าที่เป็นไปได้โดยใช้โซลูชั่นที่เรียบง่ายและตรงกับความต้องการ
- ความใส่ใจ - เรารับฟังและเคารพต่อลูกค้า เราจึงสามารถดำเนินการหรือมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่เกิดจากความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และด้วยความมุ่งมั่นที่เรามีต่อลูกค้า
- แรงบันดาลใจ - เราสร้างแรงบันดาลใจให้กันและกันเพื่อสำรวจแนวคิดในการทำให้โลกนี้เป็นสถานที่ที่น่าอยู่ขึ้น
1.2 นโยบาย วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ
ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และในปี 2563 บริษัทมีผลประกอบการในระดับที่ดีที่สุดแม้จะมีความท้าทายทางเศรษฐกิจและการดำเนินงานในช่วงระยะเวลาที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) บริษัทยังคงรักษาวินัยในการกำหนดราคาและการรับประกันการจัดจำหน่ายโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันความผันผวนปีต่อปีสำหรับสมาชิกของเรา อย่างไรก็ตามแนวการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นด้วยจำนวนที่เพิ่มขึ้นของบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยที่ต้องการขยายโปรไฟล์และการให้บริการด้านสุขภาพและประกันสุขภาพทั้งที่เป็นรายกลุ่มบุคคล และรายเดี่ยว ด้วยความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพ Aetna จึงวางแผนที่จะปรับแต่งการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของเราโดยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและการวิเคราะห์เพื่อช่วยลดต้นทุนและปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมเครื่องมือดิจิทัลเพื่ออนาคตของการส่งมอบด้านการดูแลสุขภาพเช่น vHealth ซึ่งเป็น application สำหรับการดูแลสุขภาพและการป้องกันเบื้องต้นของเรา
ทิศทางธุรกิจของเรายังคงมุ่งเน้นไปที่ส่วนการประกันสุขภาพแบบรายเดียวและกลุ่มบุคคลรายเล็ก (SME) โดยที่ลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญของการนำเสนอผลิตภัณฑ์และการให้บริการ ในส่วนของกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ บริษัทจะมุ่งเน้นไปที่การรักษาลูกค้าที่มีอยู่ในอัตราส่วนการสูญเสียที่ยั่งยืน อีกทั้งยังมุ่งเน้นในการพัฒนาโซลูชันด้านสุขภาพที่แตกต่าง เช่น โซลูชันด้านสุขภาพในสถานที่ทำงาน และทบทวนกลยุทธ์ด้านราคาเพื่อที่จะสามารถแข่งขันและแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ในตลาดได้
เรื่องที่ให้ความสำคัญทั้งหมดนี้จะทำให้ธุรกิจมีผลประกอบการที่แข็งแกร่งตลอดช่วงเวลาดังกล่าวและเริ่มเติบโตตามเป้าหมายที่อัตรากำไร 5-6%
กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ
กลยุทธ์หลักที่สำคัญ – ประสบการณ์ของลูกค้า
การทบทวนข้อเสนอสำหรับลูกค้าเพื่อพัฒนาลำดับขั้น Personal Medical Insurance (PMI) แบบง่ายที่เหมาะกับตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายในปัจจุบัน
- การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องซับซ้อน ผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าผู้บริโภคทั่วไปของเราต้องง่ายและแตกต่างยิ่งขึ้น โดยเราจะนำเสนอลำดับขั้นของข้อเสนอที่ง่าย และนำโดยผู้บริโภค ประกอบด้วยข้อเสนอบริการที่ดีขึ้นด้วยบริการอย่างผู้ดูแลทางการแพทย์ ทีมสนับสนุนแพทย์เฉพาะทาง การสนับสนุนทางดิจิทัลและการเข้าถึงแพทย์และพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน เป้าหมายคือการให้ประสบการณ์ที่โดดเด่นและใส่ใจตลอดเส้นทางประสบการณ์ของลูกค้าแก่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเรา
- เราจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ Aetna International Personal Medical Insurance (IPMI)เป็นข้อเสนอระดับบนสำหรับทั้งลูกค้าผู้บริโภคทั่วไปและลูกค้าองค์กร
- ข้อเสนอของเราจะออกแบบโดยใช้หลักเอชอาร์เอ็ม และจะมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่ามีความสามารถในการทำกำไรและธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน รวมทั้งคุ้มค่าเงินลูกค้าของเรา
พัฒนาข้อเสนอคุณค่าสำหรับลูกค้าองค์กรด้วยความคิดริเริ่มด้านสุขภาพและความสุขในที่ทำงาน
- การแข่งขันในตลาดลูกค้าองค์กรเข้มข้นด้วยความอ่อนไหวต่อราคาสูง และวิธีการตัดราคาเพื่อทำลายคู่แข่งขันซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้เล่นในตลาดที่ต้องการซื้อส่วนแบ่งการตลาด เราจะไม่ลงไปทำธุรกิจแบบยอมขาดทุนเพื่อสร้างการเติบโตของยอดขาย เรามุ่งเน้นที่การสร้างพันธมิตรอย่างยั่งยืนและสมเหตุผลในระยะยาว
- ด้วยเป้าหมายที่มุ่งเน้นเรื่องคุณค่ามากกว่าราคา เราจะพัฒนาข้อเสนอสำหรับลูกค้าองค์กรด้วยความคิดริเริ่มด้านสุขภาพและความสุขในที่ทำงาน โปรแกรมด้านสุขภาพและอื่นๆ ที่อาจต่อยอดได้จากตลาดของเอ็ทนาอื่นๆ
- ข้อเสนอที่พัฒนานี้จะสนับสนุนเรื่องการรักษาลูกค้าองค์กรหลักของเรา และมีผลเชิงบวกต่อค่าใช้จ่ายการเรียกร้องสินไหมทดแทนและแนวโน้มในอนาคต เพื่อให้การจัดการการเรียกร้องสินไหมทดแทน ความสามารถในการทำกำไร และอัตราการรักษาลูกค้าดีขึ้น
- พัฒนาสาขาให้เป็น Flagship Store เพื่อนำเสนอประสบการณ์การดูแลสุขภาพครบวงจรที่สะดวกสบาย โดยจะเปิดที่จังหวัดระยองเป็นที่แรกเพื่อสนับสนุนการเปิดตัวของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC
เข้าใจลูกค้าของเราดีขึ้นเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าของเราอย่างต่อเนื่อง
- ดำเนินการและพัฒนาเอ็นพีเอสเพิ่มเติมเพื่อเป็นเครื่องมือในการรับฟังความคิดเห็นและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งจากลูกค้าของเราเพื่อให้เกิดการปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าในภาพรวมที่มีกับเราอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เราจะใช้คะแนนเอ็นพีเอสในการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง
- เราจะนำเสนอกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนที่ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นแล้วเพื่อทำให้แน่ใจว่าเราได้เรียนรู้จากความไม่พึงพอใจของลูกค้าของเราเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
เพิ่มการสร้างเส้นทางลูกค้าสำหรับข้อเรียกร้องมูลค่าสูง ระยะเวลาเข้ารักษา ผู้ที่เรียกร้องบ่อยครั้ง
- ระบุตัวลูกค้าเหล่านี้ได้ตั้งแต่ช่วงต้นของกระบวนการ จัดให้อยู่ในเส้นทางเฉพาะเพื่อให้แน่ใจว่าได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลที่ถูกต้อง ในราคาที่ถูกต้อง และได้ระดับคุณภาพที่ถูกต้อง
การจัดการเครือข่าย
- เข้าใจเครือข่ายที่มีอยู่และผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้เรามีโอกาสเข้าใจประสบการณ์ลูกค้าเช่นกัน เราจะมีความเข้าใจที่ชัดเจนว่าโรงพยาบาลใดควรอยู่ในเครือข่าย เราควรขยายไปที่ส่วนใดของประเทศ และโรงพยาบาลไหนควรออกจากเครือข่าย
- เราจะเริ่มการกำหนดราคาคงที่และการกำหนดราคาเป็นแพ็คเกจกับโรงพยาบาล
- เพิ่มโปรแกรมการติดตามกำกับของผู้ให้บริการที่มีผลการดำเนินงานที่ผิดปกติ
เสนอการขออนุมัติความคุ้มครองก่อนเข้ารับการรักษาที่จำเป็น และโรงพยาบาลที่ต้องการสำหรับลูกค้าบริษัทหลัก
- เริ่มงานกับลูกค้าองค์กรหลักและเสนอการขออนุมัติความคุ้มครองก่อนเข้ารับการรักษาที่จำเป็น สำหรับข้อเรียกร้องมูลค่าสูงเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระเงินสำหรับการรักษาที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขความคุ้มครอง
มุ่งเน้นเพิ่มขึ้นเรื่องผลิตภาพ การอบรม และการสอนงานของส่วนรับลูกค้า
- ทำให้แน่ใจว่าส่วนรับลูกค้าเข้าใจสิ่งที่พวกเขาสนับสนุนโปรแกรมเอชเอ็มอาร์ นอกจากนั้น การเพิ่มการเน้นคุณภาพของงานที่ทำ เราจะมีโอกาสเข้าใจความต้องการด้านการอบรม ซึ่งจะลดการตัดสินใจที่ผิดและเพิ่มความผูกพันของพนักงาน
การนำเสนอประสบการณ์การป้องกันและรักษาสุขภาพผ่านโทรเวชกรรม หรือ Telemedicine ผ่านระบบ vHealth Application
- ประชาสัมพันธ์ให้มีการใช้ vHealth Application ซึ่งเป็นการนําเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยกันได้แบบ Real-time โดยที่บริษัทมีคลีนิคในการให้บริการตรวจรักษาคนไข้ และมีบุคคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจรักษาผ่านระบบ Telemedicine มาให้บริการกับลูกค้าประกันภัยรายเดียวและรายกลุ่มบุคคล เพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นเครื่องมือในการควาบคุมค่าใช้จ่ายของลูกค้าได้อีกทางหนึ่ง
1.3 ลักษณะการประกอบธุรกิจ
เอ็ทน่ามีแผนประกันสุขภาพรายบุคคลและรายกลุ่มที่หลากหลายเหมาะกับทุกความต้องการ แผนประกันสุขภาพของเอ็ทน่าส่วนใหญรับประกันการต่ออายุตลอดชีพ สามารถศึกษาข้อมูลพิ่มเติมได้ที่
https://www.aetna.co.th/web/individual-health-insurance
1.4 รายละเอียดลักษณะผลิตภัณฑ์ บริการที่สำคัญของบริษัท และสัดส่วนร้อยละของเบี้ยประกันภัย
ตารางสัดส่วนร้อยละของเบี้ยประกันภัยแยกตามประเภทของการรับประกันภัย ประจำปี 2564
รายการ |
การประกันอัคคีภัย |
การประกันภัยทางทะเล และขนส่ง |
การประกันภัยรถยนต์ |
การประกันภัยเบ็ดเตล็ด |
รวม |
ตัวเรือ |
สินค้า |
ภาคบังคับ |
ภาคสมัครใจ |
ความเสียงภัยทรัพย์สิน |
ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก |
วิศวกรรม |
อุบัติเหตุส่วนบุคคล |
สุขภาพ |
อื่นๆ |
จำนวนเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
2,949 |
- |
2,949 |
สัดส่วน
ของเบี้ยประกันภัย
(ร้อยละ) |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
100 |
- |
100 |
หมายเหตุ : ข้อมูลมาจากรายงานประจำปี
1.5 ช่องทางการติดต่อบริษัท วิธีการและระยะเวลาที่ใช้ในการเรียกร้อง พิจารณา และชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
1.5.1 ขั้นตอน ระยะเวลา เอกสาร และวิธีการในการขอรับค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
ท่านสามารถส่งหลักฐานประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ตามรายละเอียดเพิ่มเติมนี้
https://www.aetna.co.th/web/claim-service
1.5.2 วิธีการติดต่อบริษัท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีมีข้อพิพาทหรือเรื่องร้องเรียน
- ยื่นเอกสารด้วยตัวเองได้ที่สำนักงานเอ็ทน่าทุกแห่งที่ท่านสะดวก
- ส่งเอกสารทางไปรษณีย์มาที่ ฝ่ายรับเรื่องร้องเรียน บริษัท เอ็ทน่าประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 98 อาคารสาทรสแควร์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ ชั้น 15 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
- โทรศัพท์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือประสงค์จะร้องเรียน ศูนย์บริการข้อมูลสมาชิกเอ็ทน่า (Aetna Call Center) กรุณาติดต่อ 0 2232 8666 บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรืออีเมล์ csc@aetna.co.th
2. การกำกับดูแลกิจการที่ดี
2.1 กรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และกระบวนการควบคุมภายในของบริษัท
กรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance)
- บริษัทดำเนินธุรกิจตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นและหลักความสุจริตต่อกันอย่างยิ่ง โดยมีหน้าที่รับผิดชอบต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชน
- การที่บริษัทจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง ต่อเนื่อง และสามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ในปัจจุบัน บริษัทจึงดำเนินธุรกิจโดยกำหนดระบบการควบคุมภายในที่ส่งเสริมให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจ (Check and balance) เพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรอย่างมีระบบ (Enterprise Risk Management) ทั้งนี้ ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท คณะกรรมการบริษัทจึงเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรและกำหนดกฎเกณฑ์เรื่องต่างๆ ภายในบริษัท ทั้งการให้ทิศทาง กำหนดนโยบายที่สำคัญ และกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งการกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจของบริษัททั้งหมด อาทิเช่น การจัดให้มีระบบการควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
กระบวนการควบคุมภายในของบริษัท (Internal Control Process)
- เป็นกระบวนการที่บริษัทจัดให้มีขึ้นและถือปฏิบัติเพื่อสร้างความมั่นใจ และเชื่อมั่นได้อย่างมีเหตุผลว่าบริษัทจะบรรลุวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจของบริษัทและทำให้รายงานทางการเงินของบริษัทมีความน่าเชื่อถือ โดยการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และนโยบายที่เกี่ยวข้องรวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
2.2 โครงสร้างองค์กรของบริษัท

2.3 โครงสร้างการจัดการของบริษัท
โครงสร้างการจัดการและหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามนโยบายของบริษัท
2.3.1. หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการของบริษัท
- พิจารณาอนุมัติกรอบนโยบายการลงทุน และกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับการลงทุนที่มีนัยสำคัญ
- จัดให้มีกระบวนการติดตามสอดส่องผลการดำเนินงานด้านการลงทุน ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายในที่เพียงพอ เพื่อให้การลงทุนของบริษัทเป็นไปตามกรอบนโยบายการลงทุนระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุน และข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- จัดให้มีการทบทวนระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) ของบริษัท และกระบวนการระบุความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในตราสารทางการเงินในปัจจุบัน
- แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการการลงทุน
2.3.2. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหาร (Executive Management) มีขอบเขตอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อการบริหาร การดำเนินธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญของบริษัทฯ เพื่อ นำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ
- พิจารณาให้ความเห็นชอบ การกำหนดกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัท การกำหนดเป้าหมายระยะเวลาในการบริหารงานของบริษัทฯ
- ให้การสนับสนุนทรัพยากรในการบริหารงานของบริษัทฯ
- ติดตามการดำเนินการตามการบริหารงานและการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
2.4 การสรรหาและการแต่งตั้งกรรมการ กรรมการอิสระ และผู้บริหาร
การสรรหาและการแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหาร
บริษัทมีกระบวนการสรรหากรรมการและผู้บริหารของบริษัท โดยกำหนดหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
2.4.1. เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ที่เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในฐานะกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท
2.4.2. ไม่มีความบกพร่องในด้านความสามารถตามกฎหมาย
2.4.3. ไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือดำเนินคดี โดยสำนักงาน คปภ. หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล หรือหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
2.4.4. ไม่มีประวัติการถูกดำเนินการหรือถูกลงโทษที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์
2.4.5. ไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติต่อผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย บริษัท หรือผู้ถือหุ้นโดยรวม ทั้งนี้ ลักษณะของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวยึดถือตามแนวทางที่สำนักงาน คปภ. กำหนด
2.5 คณะกรรมการชุดย่อย
2.5.1. คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)
รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วย 3 ท่าน ดังต่อไปนี้
1. นางวรรณา ธรรมศิริทรัพย์ |
ประธานกรรมการตรวจสอบ |
2. Mr. Dan Harsono |
กรรมการ |
3. Mr. Thomas Charles Wilson |
กรรมการ |
2.5.2. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Enterprise Risk Management Committee)
รายชื่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย 10 ท่าน ดังต่อไปนี้
1. นางสาวณัฐวสา พจมานพรชัย |
ประธาน |
2. นายดาเมี่ยน เจมส์ เดลานี่ |
กรรมการ |
3. นางสาวนภา ตรีรัตนาวงศ์ |
กรรมการ |
4. นางพรทิพย์ จุลชาต |
กรรมการ |
5. นางอำพรรณ ตระกูลเรืองโรจน์ |
กรรมการ |
6. Dr. Friedemann Kaiser |
กรรมการ |
7. นางสาวกันตพัฒน์ นุตะโพธิพันธ์ |
กรรมการ |
8. นายไพบูลย์ ศรีสวัสดิ์อำไพ |
กรรมการ |
9. นางสาวนิตยารัตน์ นามเปรมปรีดิ์ |
กรรมการ |
2.5.3. คณะกรรมการการลงทุน (Investment Committee)
รายชื่อคณะกรรมการการลงทุน ประกอบด้วย 3 ท่าน ดังต่อไปนี้
1. นายดาเมี่ยน เจมส์ เดลานี่ |
ประธาน |
2. นางสาวณัฐวสา พจมานพรชัย |
กรรมการ |
3. นางณัฏฐา ศรีสมวงศ์ |
กรรมการ |
นอกจากนี้บริษัทยังมีคณะกรรมการภายใน ดังต่อไปนี้
- คณะกรรมการกำกับผลิตภัณฑ์ (Product Governance Committee)
- คณะกรรมการกำกับดูแลเรื่องร้องเรียน (Complaint Oversight Committee)
- คณะกรรมการธรรมาภิบาลคลินิก (Clinical Governance Committee)
- คณะกรรมการรับประกันภัย (Underwriting Committee)
- คณะกรรมการตรวจสอบสาขา (Branch Inspection Committee)
- คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Committee)
3. การบริหารความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management : ERM) และการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (Asset Liability Management : ALM)
3.1 การบริหารความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management : ERM)
ภาวะแวดล้อมของการบริหารบริษัทเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากประกอบกับความเสี่ยงที่บริษัทต้องเผชิญ การบริหารมีความหลากหลายและซับซ้อน คณะกรรมการบริษัทขอแถลงนโยบายบริหารความเสี่ยงของบริษัทตามที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ เพื่อสร้างการบริหารความเสี่ยงที่ดีและมั่นคงของบริษัท การยอมรับความเสี่ยงของบริษัทเพื่อที่จะหลีกเลี่ยง ความเสียหาย ควบคุมความเสี่ยงเพื่อให้การดำเนินกิจการเป็นไปด้วยดี และจัดการความเสี่ยงในกรณีที่มีความเสี่ยงเกิดขึ้น
ทั้งนี้บริษัทได้กำหนดกรอบนโยบายบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับกฎระเบียบเรื่องการคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ถือกรมธรรม์ (Solvency Regulations) และ กฎหมายอื่นๆ ที่ออกโดยองค์กรที่มีอำนาจ เพื่อให้แน่ใจถึงความมั่นคงทางการเงิน เช่นเดียวกับความมั่นคงและความเหมาะสมในการประกอบธุรกิจ
บริษัทจะติดตามการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบและกฎหมายที่บังคับใช้และกำหนดกรอบนโยบายการจัดการที่เหมาะสม
3.2 การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (Asset Liability Management : ALM)
หลักเกณฑ์และนโยบายการตัดสินใจในการบริหารสินทรัพย์ของบริษัท
3.2.1. ขอบเขตและประเภทของสินทรัพย์ที่บริษัทจะลงทุน (Asset Allocation)
บริษัทกำหนดให้การลงทุนทุกครั้งต้องได้รับการอนุมัติจากกรรมการบริษัท หรือผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน และ กรรมการบริหาร 1 ท่าน เป็นลายลักษณ์อักษร
3.2.3. เงื่อนไขการนำสินทรัพย์ลงทุนไปก่อภาระผูกพัน
บริษัทไม่อนุญาตให้นำสินทรัพย์ลงทุนไปก่อภาระผูกพันใดๆทั้งสิ้น ยกเว้นการนำสินทรัพย์ลงทุนไปวางเป็นประกันต่อศาล หรือนำไปใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการออกหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินเพื่อนำไปวางเป็นประกันต่อศาล เพื่อขอทุเลาการบังคับคดีที่ศาลมีคำพิพากษาให้บริษัทชดใช้หนี้ตามสัญญาประกันภัย หรือสัญญาประกันภัยต่อ ซึ่งเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 ข้อ 23
ทั้งนี้ สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณมีรายละเอียดดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ |
ปี 2564 |
ปี 2563 |
ราคาบัญชี |
ราคาประเมิน |
ราคาบัญชี |
ราคาประเมิน |
สินทรัพย์ลงทุน
(Total Investment Assets)
|
2,476
|
2,476
|
2,098
|
2,098
|
สินทรัพย์สภาพคล่อง
(Total Liquid Assets)
|
3,002
|
3,003
|
2,765
|
2,765
|
หนี้สินรวม
|
2,068
|
2,067
|
2,205
|
2,210
|
หนี้สินตามสัญญาประกันภัย
|
1,474
|
1,474
|
1,753
|
1,759
|
หมายเหตุ :
- ราคาบัญชี หมายถึง สินทรัพย์และหนี้สิน ที่ประเมินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
- ราคาประเมิน หมายถึง สินทรัพย์และหนี้สินที่ประเมินตามประกาศคณะกรรมการกับกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย เพื่อวัตถุประสงค์หลักในการกำกับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัย และเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีความสามารถในการจ่ายผลประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยได้อย่างครบถ้วนแก่ผู้เอาประกันภัย
4. ความเสี่ยงจากการรับประกันภัยที่สามารถคาดการณ์ได้และมีนัยสำคัญอันอาจมีผลกระทบต่อฐานะการเงินของบริษัท การบริหารจัดการประกันภัยต่อ ความเชื่อมโยงของเงินกองทุนและความเสี่ยงจากการรับประกันภัย และการกระจุกตัวจากการรับประกันภัย
บริษัทฯ ได้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการดำเนินนโยบายรับประกันภัยให้สอดคล้องกับแบบธุรกิจ และถูกต้องตามกฏระเบียบที่กำหนดโดยคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังได้คำนึงถึงความเสี่ยงจากการรับประกันภัยที่อาจเกิดขึ้นได้โดยได้ให้ความสนใจในสิ่งต่างๆ ดังนี้
- การกระจุกตัวของผลิตภัณฑ์
- ช่องทางการจำหน่าย
- พื้นที่รับประกันภัย
- ภัยที่รับประกัน
เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น บริษัทได้บริหารจัดการการประกันภัย โดยได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
ทั้งนี้สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณมีรายละเอียด ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ |
จำนวน |
สำรองประกันภัยส่วนที่เรียกคืนจากบริษัทประกันภัยต่อ |
2.00 |
เงินค้างรับจากการประกันภัยต่อ |
0.01 |
เงินวางไว้จากการประกันภัยต่อ |
0.00 |
5. มูลค่า วิธีการ และสมมติฐานในการประเมินหนี้สินจากสัญญาประกันภัย
การบริหารสินทรัพย์และหนี้สินมีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการความเสี่ยงทางด้านการเงินสำหรับสินทรัพย์หนุนหลังเพื่อการจ่ายชำระหนี้สินสำหรับธุรกิจ เนื่องจากหนี้สินจากการรับประกันวินาศภัยส่วนใหญ่เป็นหนี้สินระยะสั้นจึงมีความเสี่ยงทางด้านดอกเบี้ยต่ำ แต่มีความเสี่ยงที่เกิดจากมหันตภัย ความเสี่ยงที่เกิดจากการกำหนดราคาผิดพลาด และความเสี่ยงด้านการประมาณการหนี้สินค่าสินไหมทดแทนคลาดเคลื่อนสูง กลยุทธ์การบริหารสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทฯ จึงเน้นไปทางการรักษาสภาพคล่องทางการเงินให้อยู่ในระดับที่เพียงพอและเหมาะสม อันเนื่องมากจากความไม่แน่นอนของจำนวนกระแสเงินสดจ่าย รวมถึงระยะเวลาที่จะต้องจ่าย บริษัทฯจึงมีการประมาณการกระแสเงินสดจ่ายหนี้สินอย่างสม่ำเสมอ และจัดสรรเงินลงทุน
ทั้งนี้สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณมีรายละเอียด ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ |
ปี 2564 |
ปี 2563 |
ราคาบัญชี |
ราคาประเมิน |
ราคาบัญชี |
ราคาประเมิน |
หนี้สินจากสัญญาประกันภัย |
|
|
|
|
– สำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ (Premium liabilities) |
1,084 |
1,057 |
1,301 |
1,273 |
– สำรองค่าสินไหมทดแทน
(Claim liabilities) |
390 |
417 |
452 |
486 |
หมายเหตุ :
- ราคาบัญชี หมายถึง มูลค่าหนี้สินจากสัญญาประกันภัย ที่ประเมินตามมาตรฐานการบัญชี มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้นักลงทุนผู้วิเคราะห์ทางการเงินเข้าใจถึงมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของหนี้สินจากสัญญาประกันภัยที่เป็นที่ยอมรับตามหลักการทางบัญชีในประเทศไทย ซึ่งมูลค่าดังกล่าวจะต้องผ่านการรับรองจากผู้สอบบัญชีอนุญาตแล้ว
- ราคาประเมิน หมายถึง มูลค่าหนี้สินจากสัญญาประกันภัย ที่ประเมินตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย เพื่อวัตถุประสงค์หลักในการกำกับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยและเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทความสามารถในการจ่ายผลประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยได้อย่างครบถ้วนแก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งจะต้องประเมินโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนตามหลักการทางคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ได้รับการยอมรับ สมมติฐานที่ใช้ในการประเมินจะต้องสอดคล้องกับประสบการณ์จริงหรือในกรณีที่บริษัทมีข้อมูลไม่เพียงพออาจอ้างอิงจากประสบการณ์ของอุตสาหกรรมและปรับให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของพอร์ตการรับประกันภัยของบริษัทนั้น นอกจากนี้ มูลค่าสำรองประกันภัยดังกล่าวจะต้องรวมถึงค่าเผื่อความผันผวน (Provision of Adverse Deviation : PAD) ซึ่งให้เป็นไปตามที่สำนักงาน คปภ. กำหนด
ข้อสังเกต ในบางช่วงเวลาของการรายงานทางการเงิน มูลค่าหนี้สินจากสัญญาประกันภัยอาจมีความแตกต่างระหว่างราคาบัญชีและราคาประเมินของ อย่างมีนัยสำคัญ อันเนื่องมากจากวัตถุประสงค์และวิธีการที่แตกต่างกันในการประเมินตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ทั้งนี้ผู้ที่จะนำข้อมูลไปใช้ควรศึกษาและทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์แนวทางการประเมินราคาหนี้สินจากสัญญาประกันภัยทั้งสองให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ
6. การลงทุนของบริษัท
นโยบาย วัตถุประสงค์ กระบวนการลงทุนของบริษัทโดยสังเขป
แผนการลงทุนของ บริษัท เอ็ทน่า ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นไปตามกรอบนโยบายการลงทุนของบริษัท ที่บริษัทได้นำส่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ซึ่งแผนการลงทุนดังกล่าวถูกจัดทำขึ้นภายใต้ข้อกำหนดของสำนักงาน คปภ. และเป็นไปตามนโยบายของบริษัท ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติแผนการลงทุนของบริษัท คือ ให้ลงทุนได้เฉพาะเงินฝากแบบมีกำหนดระยะเวลาในธนาคารที่มีการจัดอันดับโดย S&P หรือ Fitch หรือ Moody’s ตั้งแต่ BBB + หรือ Baa1 เท่านั้น
ทั้งนี้สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณมีรายละเอียด ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
ประเภท
สินทรัพย์ลงทุน |
มูลค่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม |
ปี 2564 |
ปี 2563 |
ราคาบัญชี |
ราคาประเมิน |
ราคาบัญชี |
ราคาประเมิน |
เงินฝากสถาบันการเงินและ บัตรเงินฝากสถาบันการเงิน |
804 |
804 |
404 |
404 |
ตราสารหนี้ (พันธบัตร,หุ้นกู้, ตั๋วสัญญาใช้เงิน,ตั๋วแลกเงิน, หุ้นกู้แปลงสภาพ และสลากออมทรัพย์) |
1,672 |
1,673 |
1,694 |
1,694 |
ตราสารทุน (ไม่รวมเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม) |
- |
- |
- |
- |
หน่วยลงทุน |
- |
- |
- |
- |
เงินให้กู้ยืม,เงินให้เช่าซื้อรถ และให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง |
- |
- |
- |
- |
ใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน |
- |
- |
- |
- |
ตราสารอนุพันธุ์ |
- |
- |
- |
- |
เงินลงทุนอื่น |
- |
- |
- |
- |
รวมสินทรัพย์ลงทุน |
2,476 |
2,477 |
2,098 |
2,098 |
หมายเหตุ :
- ราคาบัญชี หมายถึง สินทรัพย์และหนี้สิน ที่ประเมินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
- ราคาประเมิน หมายถึง สินทรัพย์และหนี้สินที่ประเมิน ตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย เพื่อวัตถุประสงค์หลักในการกำกับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยและเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีความสามารถในการจ่ายผลประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยได้อย่างครบถ้วนแก่ผู้เอาประกันภัย
7. ผลการดำเนินงานของบริษัทประกันภัย รวมถึงผลการวิเคราะห์และอัตราส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลการดำเนินงานของบริษัท
หน่วย : ล้านบาท
รายการ |
2564 |
2563 |
เบี้ยประกันภัยรับรวม |
2,944 |
3,207 |
เบี้ยประกันภัยที่ถือเป็นรายได้ (สุทธิ) |
3,160 |
3,211 |
รายได้จากการลงทุน และรายได้อื่น |
51 |
74 |
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ |
408 |
402 |
อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ (ร้อยละ)
อัตราส่วน |
2564 |
2563 |
อัตราส่วนค่าสินไหมทดแทน ( Loss Ratio) |
65 |
66 |
อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจกันภัย ( Expense Ratio) |
21 |
20 |
อัตราส่วนรวม ( Combined Ratio) |
86 |
86 |
อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity ratio) |
769 |
611 |
อัตราส่วนผลตอบแทนผู้ถือหุ้น ( Return on equity) |
34 |
45 |
8. ความเพียงพอของเงินกองทุน นโยบาย วัตถุประสงค์ กระบวนการบริหารจัดการเงินกองทุน และการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน
การบริหารจัดการเงินกองทุนของบริษัท
บริษัทฯ มีกระบวนการประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงทางด้านธุรกิจโดยทั่วไป นอกจากนี้ยังมีกระบวนการประเมินและจัดการความเสี่ยงทางด้านเงินกองทุน (ORSA process) โดยพิจารณาทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารเข้าใจถึงความเสี่ยงที่มีอยู่ ระดับเงินกองทุนที่ต้องดำรงไว้สำหรับความเสี่ยงจากกิจกรรมทางธุรกิจแต่ละประเภทรวมถึงการหาทางจัดการกับความเสี่ยงดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม
ทั้งนี้สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณมีรายละเอียด ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ |
ณ วันที่ 31 ธันวาคม |
2564 |
2563 |
สินทรัพย์รวม |
3,829 |
3,563 |
หนี้สินรวม |
2,067 |
2,210 |
– หนี้สินจากสัญญาประกันภัย |
1,474 |
1,759 |
– หนี้สินอื่น |
593 |
451 |
ส่วนของเจ้าของ |
1,762 |
1,354 |
อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย (ร้อยละ) |
923 |
370 |
อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย (ร้อยละ) |
923 |
370 |
อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (ร้อยละ) |
923 |
370 |
เงินกองทุนที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งหมด |
1,762 |
1,354 |
เงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย |
191 |
366 |
หมายเหตุ :
- ตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย กำหนดให้นายทะเบียนอาจกำหนดมาตรการที่จำเป็นในการกำกับดูแลบริษัทที่มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนต่ำกว่าร้อยละหนึ่งร้อยสี่สิบได้ - เงินกองทุน เป็นเงินกองทุนตามราคาประเมิน ตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย
- รายการข้างต้นคำนวณโดยใช้ราคาประเมิน ตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย
9. งบการเงิน และหมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับรอบปีปฏิทินที่ล่วงมาที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว และงบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว
ดาวน์โหลดไฟล์ Aetna Q1'22
ดาวน์โหลดไฟล์ Aetna YE 2021
ดาวน์โหลดไฟล์ Aetna Q1'21
ดาวน์โหลดไฟล์ Aetna Q2'21
ดาวน์โหลดไฟล์ Aetna Q3'21
ดาวน์โหลดไฟล์ Aetna YE 2020
10. การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
10.1 แบบ ปผว. 1 รายปี 2563 ดาวน์โหลดไฟล์
10.2 แบบ ปผว. 1 รายปี 2564 ดาวน์โหลดไฟล์
10.3 แบบ ปผว. 1 ไตรมาส 1 ปี 2564 ดาวน์โหลดไฟล์
10.4 แบบ ปผว. 1 ไตรมาส 2 ปี 2564 ดาวน์โหลดไฟล์
10.5 แบบ ปผว. 1 ไตรมาส 3 ปี 2564 ดาวน์โหลดไฟล์
10.6 แบบ ปผว. 1 ไตรมาส 1 ปี 2565 ดาวน์โหลดไฟล์